การตรวจติดตามภายใน

Pre Audit บริษัทของเราสามารถให้บริการตรวจประเมินเสมือนจริงประหนึ่งทางผู้ตรวจประเมิน (CB) มาตรวจเอง

เพื่อเป็นการตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารก่อนที่ลูกค้าจะถูกประเมินจริงจากผู้ให้การรับรอง ISO (CB)

7 ขั้นตอนวางแผนตรวจประเมินภายใน (Internal Audit)

การตรวจประเมินภายใน(Internal Audit เป็นกิจกรรมบังคับสำหรับหน่วยงานที่จัดทำระบบ

การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ภาพรวมของการวางแผนแบ่งเป็น 7 ขั้นตอนดังนี้

1. เตรียมบุคลากรที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจประเมินภายใน (Internal auditor) โดยผู้ตรวจประเมินจะต้องมีความรู้

และเข้าใจในข้อกำหนด(Requirements) ของ ISO 22301:2019 ว่าแต่ละข้อกำหนดมีเจตนารมณ์อย่างไร

และควรจะดูหลักฐานอะไรเพื่อยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านั้น

2. กำหนดช่วงเวลาที่จะทำการตรวจประเมินไว้ล่วงหน้า โดยส่วนใหญ่นิยมตรวจปีละ 1-2 ครั้ง และมีการแจ้ง

กำหนดการตรวจประเมิน (Audit Schedule) ล่วงหน้าไปยังหน่วยงานที่อยู่ภายในขอบเขต (Scope)

ของการทำระบบ เพื่อให้หน่วยงานได้รับทราบและเตรียมตัว เตรียมข้อมูลไว้รับการตรวจ

3. กำหนดขอบเขตของการตรวจประเมิน โดยกำหนดเป็นพื้นที่ หน่วยงาน หรือระบบงาน ให้ชัดเจน

เพื่อจะได้วางแผนตรวจประเมินโดยพิจารณาถึงขนาดและความซับซ้อนของระบบงานหรือหน่วยงานที่ไปตรวจ

รวมถึงการจัดเวลาและผู้ตรวจประเมินที่มีทักษะและความสามารถตรงกับภาระกิจได้อย่างเหมาะสม

4. หากเป็นการตรวจประเมินภายในครั้งแรก (มือใหม่หัดตรวจ) แนะนำให้นำ Gap Analysis มาเป็นแนวทาง

การวางแผน โดยให้ list สิ่งที่รายงานจะระบุว่ายังไม่ได้ทำ หรือยังไม่มี ส่วนที่รายงาน Gap Analysis

ระบุว่ามีแล้ว ก็ให้ Internal Auditor ไปตรวจว่ายังรักษาอยู่ได้หรือไม่ เป็นต้น

5. ถ้าเป็นการตรวจประเมินครั้งที่ 2เป็นต้นไป เวลาวางแผนตรวจประเมินควรดูผล Audit คราวก่อนด้วย

จะได้ไปทวนสอบดูว่าได้แก้ปัญหาเหล่านั้นเรียบร้อยหรือยัง แก้ตรงจุดได้ผลชงักหรือไม่

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy