การเฝ้าติดตามระดับการสั่นไหว
การกำหนดระดับการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว (Earthquake Severity Levels) สามารถแบ่งได้ดังนี้:
ระดับที่ 1 : ระดับเบา (Minor)
แรงสั่นสะเทือน : ไม่เกิน 3.9 ริกเตอร์
ลักษณะความเสียหาย :
- ผู้คนรับรู้แรงสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อย
- ไม่มีความเสียหายทางโครงสร้าง
- ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานทั่วไป
แนวทางปฏิบัติ :
- แจ้งเตือนพนักงานให้รับรู้เหตุการณ์
- ตรวจสอบเบื้องต้นความเสียหายโดยทีมความปลอดภัย
ระดับที่ 2 : ระดับปานกลาง (Moderate)
แรงสั่นสะเทือน : 4.0 - 4.9 ริกเตอร์
ลักษณะความเสียหาย :
- สั่นสะเทือนรู้สึกได้ชัดเจน มีวัตถุตกหล่นหรือเสียหายเล็กน้อย
- อาคารอาจมีรอยร้าวขนาดเล็ก เช่น ผนัง ฝ้าเพดาน
- มีการตื่นตระหนกของผู้คนแต่สามารถควบคุมได้
แนวทางปฏิบัติ :
- ประกาศแจ้งเตือนและประเมินสถานการณ์
- ทีม ERT เข้าประเมินความเสียหายเบื้องต้น
- อพยพคนออกจากอาคารชั่วคราวเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย
ระดับที่ 3 : ระดับรุนแรง (Severe)
แรงสั่นสะเทือน : 5.0 - 6.9 ริกเตอร์
ลักษณะความเสียหาย :
- อาคารได้รับความเสียหาย เช่น รอยแตกขนาดใหญ่ ผนังเสียหาย โครงสร้างบางส่วนเสียหาย
- มีผู้บาดเจ็บเกิดขึ้นจากแรงสั่นสะเทือนหรือวัตถุตกหล่น
- ผู้คนตื่นตระหนกและต้องการความช่วยเหลือ
แนวทางปฏิบัติ :
- ดำเนินการอพยพทุกคนออกจากอาคารทันที
- ทีม ERT ลงพื้นที่ประเมินและจัดการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเบื้องต้น
- ขอสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกในการกู้ภัย กู้ชีพ
- ประกาศภาวะฉุกเฉินขององค์กรหรือหน่วยงาน
ระดับที่ 4 : ระดับวิกฤต (Critical/Catastrophic)
แรงสั่นสะเทือน : ตั้งแต่ 7.0 ริกเตอร์ขึ้นไป
ลักษณะความเสียหาย :
- อาคารและโครงสร้างได้รับความเสียหายรุนแรง อาจถล่มหรือเสี่ยงต่อการถล่ม
- เกิดผู้บาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต
- ความเสียหายต่อระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา สื่อสาร
- จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกเร่งด่วน
แนวทางปฏิบัติ :
- ประกาศภาวะฉุกเฉินระดับสูงสุด แจ้งเตือนทุกฝ่ายทันที
- เรียกหน่วยกู้ภัย หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน และหน่วยงานราชการเข้าช่วยเหลือโดยเร่งด่วน
- กำหนดพื้นที่ควบคุม ห้ามเข้า เพื่อป้องกันอันตรายซ้ำซ้อน
- ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกในการอพยพเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย และผู้เสียชีวิตอย่างปลอดภัย
ทุกองค์กรต้องมีแผนการจัดการตามขั้น ERP / BCP / DRP / BRP เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานจริงได้ "เมื่อเกิดเหตุ บริษัทและทีมงานเราต้องรอด"