แชร์

การทบทวนสิ่งที่สำคัญจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว "ปัญหาที่แท้จริงที่ทุกองค์กรต้องกำหนดให้ชัดเจนเมื่อเกิดเหตุ"

อัพเดทล่าสุด: 23 เม.ย. 2025
104 ผู้เข้าชม

หัวข้อที่ต้องทบทวนจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว

การบริหารจัดการในพื้นที่อาคาร

1. แผนผังการอพยพ ที่อัพเดท และการแสดงจุดการเดินทางไปยังจุดรวมพล (ซึ่งจุดรวมพลควร กำหนดไว้ทั้งด้านข้างอาคาร และนอกสถานที่อื่น)
2. การจัดการความปลอดภัย ของ รปภ. / การกั้นพื้นที่ / การจัดการจราจรทั้งในและนอกอาคาร
3. การตรวจสอบจุดที่เกิดความเสี่ยง และอันตราย เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เข้าไปในบริเวณนั้น
4. การแสดงจุดที่อพยพให้ชัดเจน เนื่องจากตึกอาคารอาจไม่มีบันไดลงที่ชัดเจน (ลงทางหนีไฟเท่านั้น) ทำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ไม่รู้ทางวิ่งหนี

การสื่อสาร

1. การแจ้งระบบ Call Tree พร้อมเบอร์ติดต่อที่ใช้งานได้จริง เนื่องจากขณะเกิดเหตุไม่สามารถเปิดเล่ม BCP ได้
2. ช่องการทางสื่อสารที่ใช้งานได้จริง (Line กลุ่มที่มีทุกคนอยู่ / โทรศัพท์)(Message มีข้อจำกัดที่จำนวนข้อความ)
3. การปล่อย ข้อความการสื่อสาร ให้ชัดเจน เพื่อให้ทุกคนรู้ว่าตอนนี้กำลังต้องทำอะไร (ไม่ใช่เกิดอะไร แต่ทุกคนอยากรู้ว่าต้องทำอะไร)
4. การจัดพื้นที่สำหรับสื่อมวลชน พร้อมทีมสื่อสาร (โฆษก และผู้บริหารที่ต้องให้ข่าว) (นักข่าวเข้ามาเร็วมาก)
5. การจัดการข่าวปลอม (วิธีการจัดการ) พร้อมทั้งกำหนดการสื่อสารจากบริษัท ให้ผู้ที่สนใจรับทราบเร็วที่สุด
6. การกำหนดช่องทางการติดตามสถานการณ์ของบริษัท ที่สามารถเชื่อถือได้จริง
     - สถานการณ์จากรัฐบาล
     - การจัดการของตึกอาคาร (ข้อมูลวิศวกรของตึกอาคารที่สามารถอนุมัติความปลอดภัยของตึกเราได้จริง)

การสั่งการ

1. ห้อง War room (พื้นที่ห้องบัญชาการทั้งในและนอกสถานที่ตั้ง พร้อมอุปกรณ์ช่องทางการประชุม จากเหตุการณ์ไม่สามารถอยู่ในอาคารได้)(Video call อาจจะง่ายกว่า Microsoft team)
2. ผู้บัญชาการแท้จริงที่สามารถสั่งการทุกส่วนงานได้ (BCMR)

การใช้แผนงานฉุกเฉิน / BCP / DRP / BRP

1. กำหนดผู้จัดหาข้อมูลตามแผนงาน BCP องค์กร (ส่วนกลาง)(เมื่อเกิดเหตุการณ์จริงทุกคนเกิดความตกใจ ทำให้ลืมว่าต้องเอาข้อมูลจากที่ไหน)
2. การแจ้งสเตปขั้นตอนการดำเนินการให้ทุกคนเข้าใจ เพื่อให้เป็นไปตามแผน (ขณะเกิดเหตุทุกคนตกใจ ทำให้ไม่รู้ว่าต้องจัดการตามขั้นตอนอย่างไร)
3. การแจ้งพื้นที่สำรองในการปฏิบัติงานให้ชัดเจน เนื่องจากจุดรวมพลไม่สามารถจัดประชุมทุกหน่วยได้
4. แนวทางการประเมินความเสีย ต้องเพิ่มหัวข้อตามพื้นที่ให้มากขึ้น เพื่อให้ทราบถึงจุดที่สำคัญในตึกอาคารที่จะทำให้ไม่สามารถใช้อาคารสถานที่ได้ (เพราะแต่ละอาคารมีอุปกรณ์ไม่เหมือนกัน)

 

(ทุกองค์กรต้องมีแผนการจัดการตามขั้น ERP / BCP / DRP / BRP) เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานจริงได้
"เมื่อเกิดเหตุ บริษัทและทีมงานเราต้องรอด"


บทความที่เกี่ยวข้อง
การจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว
เมื่อแผ่นดินไหวเกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการมีสติและรู้ว่าจะต้องทำอะไรเพื่อปกป้องตัวเองและคนรอบข้างในทันที เพราะทุกวินาทีล้วนมีความหมาย การตอบสนองอย่างถูกวิธีในขณะเกิดเหตุสามารถลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้อย่างมาก บทความนี้จะเน้นไปที่การ จัดการและปฏิบัติตัว “ในช่วงเวลาที่แผ่นดินไหวกำลังเกิดขึ้น” โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หลายคนอาจตกใจหรือสับสน เราจึงต้องมีแนวทางที่ชัดเจน
22 เม.ย. 2025
การฟื้นฟูหลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว
เมื่อแผ่นดินไหวผ่านพ้นไป ผลกระทบที่หลงเหลือไว้มักไม่เพียงแต่จำกัดอยู่ที่ความเสียหายทางกายภาพ แต่ยังลามไปถึงผลกระทบทางจิตใจ เศรษฐกิจ และความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนในพื้นที่ประสบภัย การฟื้นฟูหลังแผ่นดินไหวจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญ และต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ชุมชนสามารถกลับมายืนหยัดได้อีกครั้งอย่างมั่นคงและปลอดภัย
23 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy