แชร์

อุปกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภายนอก

อัพเดทล่าสุด: 23 เม.ย. 2025
104 ผู้เข้าชม

อุปกรณ์และหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง

รายการอุปกรณ์ที่ควรจัดเตรียม และหน่วยงานภายนอกที่ต้องประสานงานเพื่อการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวและตึกถล่ม มีดังนี้:

1. รายการอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1)อุปกรณ์ช่วยชีวิตและปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ชุดปฐมพยาบาล (First Aid Kit)
- เปลสนาม (Stretcher)
- ถังออกซิเจนพร้อมอุปกรณ์การให้ออกซิเจน
- เครื่อง AED (เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ)


2) อุปกรณ์สื่อสาร

- วิทยุสื่อสาร (Walkie-Talkie)
- โทรศัพท์มือถือสำรอง พร้อม Power Bank
- นกหวีดหรืออุปกรณ์ส่งเสียงสัญญาณ


3) อุปกรณ์ค้นหาและกู้ภัย

- หมวกนิรภัย
- ถุงมือ และหน้ากากอนามัย/หน้ากากกรองฝุ่น
- ไฟฉายพร้อมแบตเตอรี่สำรอง
- เชือกและสายรัด
- ค้อนขนาดใหญ่/ขวาน
- ชะแลง
- พลั่วจอบ
- เลื่อยตัดเหล็กและไม้
- อุปกรณ์ยกหรือค้ำยันโครงสร้าง (Hydraulic Jack/Support)


4) อุปกรณ์ช่วยเหลือทั่วไป

- อุปกรณ์ดับเพลิง ถังดับเพลิงชนิดต่างๆ
- ป้ายแสดงจุดอพยพ, ป้ายพื้นที่อันตราย
- แผนที่อาคารแสดงจุดสำคัญและเส้นทางอพยพ
- น้ำดื่ม และอาหารแห้งสำรอง (Emergency Food & Water Supply)
- ผ้าห่มกันหนาว


2. หน่วยงานภายนอกที่ต้องประสานงาน

1) หน่วยงานด้านการกู้ภัย

- หน่วยกู้ภัยมูลนิธิต่างๆ (เช่น ป่อเต็กตึ๊ง, ร่วมกตัญญู)
- หน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)


2) หน่วยงานดับเพลิง

- สถานีดับเพลิงใกล้เคียง (แจ้งเหตุ Hotline 199)


3) หน่วยแพทย์ฉุกเฉินและโรงพยาบาล

- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สายด่วน 1669)
- โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด (แจ้งเหตุด่วนฉุกเฉิน)


4) หน่วยงานรักษาความปลอดภัยและจราจร

- สถานีตำรวจพื้นที่ใกล้เคียง (สายด่วน 191)
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง (เทศบาล, อบต.)


5) หน่วยงานด้านสาธารณูปโภค

- การไฟฟ้านครหลวง/การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (แจ้งเหตุด่วน 1129)
- การประปานครหลวง/การประปาส่วนภูมิภาค (แจ้งเหตุด่วน 1125)
- บริษัทโทรคมนาคมที่ให้บริการ (แจ้งเหตุระบบล่ม)


6) หน่วยงานประชาสัมพันธ์/สื่อสาร

- สถานีวิทยุท้องถิ่นหรือหน่วยงานกระจายเสียงในพื้นที่
- สื่อท้องถิ่นหรือสื่อออนไลน์ (Social Media)


7) หน่วยงานด้านวิศวกรรมและโครงสร้าง

- วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.)
- วิศวกรโยธา (ประเมินความปลอดภัยของอาคารหลังเหตุการณ์)


8) หน่วยงานด้านประกันภัย

- บริษัทประกันภัย (ประกันชีวิต, ทรัพย์สิน และความเสียหาย)

 

(ทุกองค์กรต้องมีแผนการจัดการตามขั้น ERP / BCP / DRP / BRP) เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานจริงได้ "เมื่อเกิดเหตุ บริษัทและทีมงานเราต้องรอด"


บทความที่เกี่ยวข้อง
การทบทวนสิ่งที่สำคัญจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว "ปัญหาที่แท้จริงที่ทุกองค์กรต้องกำหนดให้ชัดเจนเมื่อเกิดเหตุ"
แผ่นดินไหวไม่ใช่เพียงเหตุการณ์ธรรมชาติที่สร้างความเสียหายทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นบทเรียนอันทรงคุณค่าที่สะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนและโอกาสในการพัฒนาระบบความพร้อมรับมือภัยพิบัติขององค์กร การทบทวนเหตุการณ์หลังจากแผ่นดินไหวจึงเป็นขั้นตอนที่ขาดไม่ได้ เพื่อให้เราเข้าใจว่าอะไรทำได้ดี อะไรยังขาด และเราจะปรับปรุงอย่างไรให้พร้อมมากยิ่งขึ้นในอนาคต
23 เม.ย. 2025
การจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว
เมื่อแผ่นดินไหวเกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการมีสติและรู้ว่าจะต้องทำอะไรเพื่อปกป้องตัวเองและคนรอบข้างในทันที เพราะทุกวินาทีล้วนมีความหมาย การตอบสนองอย่างถูกวิธีในขณะเกิดเหตุสามารถลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้อย่างมาก บทความนี้จะเน้นไปที่การ จัดการและปฏิบัติตัว “ในช่วงเวลาที่แผ่นดินไหวกำลังเกิดขึ้น” โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หลายคนอาจตกใจหรือสับสน เราจึงต้องมีแนวทางที่ชัดเจน
22 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy